การศึกษาในศตวรรษที่ 21

การสังเคราะห์องค์ความรู้ เรื่อง “การศึกษาในศตวรรษที่ 21”
โลกแห่งการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา การศึกษาเป็นการสร้างความรู้ ความสามารถ และพัฒนาศักยภาพของคน ได้แก่การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยให้โอกาสแก่ผู้เรียนทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้ เพิ่มพูนสติปัญญา ประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของแต่ละคนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยปราศจากข้อจำกัด ทั้งระดับสติปัญญา ความสามารถในการรับรู้ และอื่นๆ อีกทั้งยังหวังว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับ เวลา และสถานที่ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดทั้งในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ ในทุกระดับ ในลักษณะที่เรียกว่า Coustructionism
1.      แนวคิด ทฤษฎีการศึกษาในอนาคต
รูปแบบและทฤษฎีการเรียนรู้แห่งอนาคตเป็นรูปแบบการเรียนรู้ ใน 3 ลักษณะ ได้แก่
1.การเรียนรู้ในลักษณะที่มีครูผู้สอนเป็นศูนย์กลางกระบวนการเรียนรู้เกิดการถ่ายทอดจากผู้สอนสู่ผู้เรียน
2.การเรียนรู้ในลักษณะที่เน้นความร่วมมือกัน กระบวนการเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของทั้งผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน และ/หรือชุมชนของการเรียน
3.การเรียนรู้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับลักษณะที่สอง แต่มีการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ต่างๆ เพิ่มเติม เช่น ทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งสื่อต่างๆทั้งในรูปแบบดิจิตตัล และไม่ใช่ดิจิตัล รวมถึงการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะที่สร้างฐานความรู้ให้แก่ผู้เรียน (Knowledge scaffolding)

ภาพแสดงการเปรียบเทียบรูปแบบการเรียนรู้ 3 ลักษณะ
แนวโน้มของรูปแบบการเรียนรู้ในอนาคตนั้น ได้แก่ การผสมผสานระหว่างรูปแบบการเรียนรู้ทั้ง 3 ลักษณะอย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญ ได้แก่ ความพยายามของครูผู้สอน (และผู้เรียน) ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีกรสอนและการเรียนรู้จากรูปแบที่ 1 มาสู่รูปแบบที่ 2 และ 3 ให้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบการสอนและการเรียนรู้ในลักษณะที่ 3 นั้นเป็นรูปแบบที่ครูผู้สอนจำเป็นต้องให้ความสนใจ เพราะมีหลักฐานงานวิจัยหลายชิ้นที่สนับสนุนว่า เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากหากผู้สอนมีการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน พร้อมไปกับการจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้ และการสร้างฐานความรู้ให้กับผู้เรียนที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี การจัดรูปแบบการเรียนรู้ในลักษณะที่ 3 นั้น ครูผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะด้านไอซีทีที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านการพัฒนาสื่อ การจัดหาแหล่งเรียนรู้ต่างๆให้กับผู้เรียน ดังนั้นการพัฒนาทักษะด้านไอซีทีแก่ผู้สอน จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต สำหรับผู้เรียนนั้น ทักษะทางด้านไอซีทีอาจไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวล เพราะผู้เรียนในอนาคต จะสามารถปรับตัวเข้ากับรูปแบบการเรียนรู้ในอนาคตได้อย่างรวดเร็ว(กว่าผู้สอน)เนื่องจากความเคยชินจากสังคมรอบตัวที่พวกเขาเติบโตขึ้นมา
          ในการพัฒนาทักษะครูผู้สอนด้านไอซีทีนั้น นอกจากในการอบรมทักษะให้ครูผู้สอนสามารถสร้างและ/หรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและเนื้อหาการเรียนรู้ในรูปดิจิตัลแล้ว ครูผู้สอนควรมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถประยุกต์ใช้ ศักยภาพของการนำไอซีทีไปใช้ในลักษณะของเครื่องมือ (Tool) การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ซึ่งเน้นผู้เรียนทักษะกระบวนการคิด ของผู้เรียนตัวอย่าง เช่น การใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือที่ให้ผู้เรียน เพื่อน และผู้สอน เกิดการปฏิสัมพันธ์ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิพากษ์อย่างยืดหยุ่น โดยไม่จำกัดด้านเวลาและสถานที่ หรือ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดผ่านทางการใช้ไอซีที เช่นการสรุปความคิดรวบยอด โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยการวางแผน หรือ การคิดวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ จากโปรแกรมฐานข้อมูลด้านต่างๆ เป็นต้น
1.ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของอนาคต
          ในส่วนนี้จะขอกล่าวถึง ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญในอนาคต 3 ทฤษฎี
1)      การเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2)      การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning)
3)      ทฤษฎีคอนสตัคติวิสต์ (Constructivism)
1.1 การเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ทฤษฎี การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน เกิดจากแนวคิดที่ว่า การเรียนรู้ไม่จำกัดอยู่เฉพาะการเรียนจาก
ครูผู้สอนเท่านั้น หากเกิดจาก การที่ผู้เรียนร่วมมือกับผู้สอนในการเรียนรู้ด้วยตนเอง กับเพื่อน หรือกับชุมชนการเรียนรู้ของตน ภายใต้เป้าหมายการเรียนรู้ร่วมกัน ตาราง 1 เปรียบเทียบทฤษฎีการเรียนรู้แบบดั้งเดิม กับ การเรียนรู้แบบร่วมมือกันที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนที่ดีควรต้องรู้จักผสมผสานระหว่างทั้ง 2 ทฤษฎี / วิธีการให้มากขึ้นหลีกเลี่ยงการสอนที่มุ่งเน้นเฉพาะลักษณะใดลักษณะหนึ่ง รวมทั้งตะหนักว่า แนวโน้มของทฤษฎี การเรียนรู้ในอนาคตนั้น จะอยู่ในลักษณะของการเรียนรู้แบบร่วมมือกันที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

การเปรียบเทียบการสอนแบบดั้งเดิม และการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การสอนแบบดั้งเดิม
การเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
สิ่งแวดล้อมที่ครูเป็นศูนย์กลาง
สิ่งแวดล้อมที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ครูเป็นผู้ควบคุมการเรียนการสอน
ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเปรียบเทียบการสอนแบบดั้งเดิม และการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การสอนแบบดั้งเดิม
การเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ส่วนใหญ่อำนาจและความรับผิดชอบอยู่ที่ครู
ส่วนใหญ่อำนาจและความรับผิดชอบอยู่ที่ผู้เรียน
ครูเป็นผู้สอนและผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนรู้
ครูเป็นผู้สนับสนุนและคอยแนะนำ ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนรู้
ธรรมชาติของประสบการณ์การเรียนบ่อยครั้งอยู่ในลักษณะของการแข่งขันระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ผู้เรียนจะไม่พอใจหากผู้เรียนคนอื่นลอกเลียนแบบ (copy) ความคิดของตนเอง
การเรียนรู้อาจอยู่ในลักษณะเป็นกลุ่ม(ร่วมมือกันหรือโดยอิสระก็ตาม)ผู้เรียนทำงานด้วยกันเพื่อเป้าหมายร่วมกันผู้เรียนเต็มใจที่จะช่วยซึ่งกันและกันในการแลกเปลี่ยนทักษะและแนวคิดผู้เรียนแข่งขันกับความสามารถเดิมของตน
ลักษณะของงานอยู่ในรูปของชุดของภาระงานย่อยๆที่ผู้สอยกำหนดให้ภายใต้สาระวิชี่แยกออกจากกันค่อนข้างชัดเจน
ลักษณะของงานอยู่ในรูปของโครงงานหรือโจทย์ปัญหาจากสภาพจริงและมีการบูรราการสาระวิชาต่างๆเข้าด้วยกัน
การเรียนรู้เกิดขึ้นในชั้นเรียน
การเรียนรู้ขยายขอบเขตจากชั้นเรียนออกไป
เนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่กระบวนการที่ผู้เรียนเกิดการประมวลผลข้อมูลสารสรเทศและการนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ผู้เรียนได้รับความรู้จากการฝึกและการปฏิบัติ
ผู้เรียนประเมินตัดสินใจและรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองผู้เรียนได้รับความรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้เนื้อหาไม่จำเป็นต้องเดขึ้นตามบริบท
การเรียนรู้เนื้อหาการเรียนเกิดขึ้นในบริบทที่เกี่ยวข้อง
ตาราง 1 ตารางเปรียบเทียบการสอนแบบดั้งเดิมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1.2 การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning)
          ทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เป็นทฤษฎีซึ่งเกิดจากแนวคิดที่ว่า คนเกิดมาพร้อมกับจำนวนเซลสมองที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต การขยายตัวของสมองไม่ได้เกิดจากการเพิ่มจำนวนเซลของสมอง แต่มาจาก “ใยประสาท” สมองของคนเรานั้น มีความยืดหยุ่น หากเราใช้สมองในการแก้ไขปัญหา สมองก็จะมีการสร้างใยประสาทเพิ่มขึ้น แต่ถ้าไม่ได้ใช้ใยประสาทก็จะถูกทำลายลง
          ในการประยุกต์ทฤษฎีนี้สู่การปฏิบัตินั้น คงต้องทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่าง สมองกับการเรียนรู้  กล่าวคือ สมองมีการเชื่อมโยงกับอารมณ์ของคน ในขณะที่อารมณ์ของคนก็จะส่งผลต่อการเรียนรู้ โดยอารมณ์เป็นตัวช่วยเราในการเรียกความทรงจำเดิมที่เก็บไว้ในสมองออกมาใช้สำหรับภาวะของสมองที่เหมาะสมที่สุดของการเรียนรู้ ได้แก่ ภาวะของสมองที่มี ความตื่นตัวแบบผ่อนคลาย (Relaxed alertness) ดังนั้นครูผู้สอนจึงมีหน้าที่สร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในลักษณะที่ทันสมัย เพลิดเพลิน แต่ท้าท้ายและชวนให้หาคำตอบ เพื่อนกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัวแบบผ่อนคาย มากกว่าความรู้สึกเครียด กังวลและกดดัน เพราะสิ่งแวดล้อมดังกล่าว อาจทำให้เกิดผมลัพธ์การเรียนรู้ทางลบแก่ผู้เรียนได้ รวมทั้ง แนวคิดที่สำคัญจากทฤษฎีการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน ได้แก่ การที่การเรียนรู้ของคนจะประสบความสำเร็จเมื่อกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสบการณ์ของประสบการณ์ของผู้เรียนที่เป็นรูปธรรมและสามารถจับต้องได้ เพราะคนเราจะจำสิ่งต่างๆได้แม่นยำที่สุดเมื่อข้อเท็จจริงต่างๆและทักษะฝังอยู่ในจากกิจกรรมในชีวิตจริงตามธรรมชาติ เพราะเป็นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ตรง
          นอกจากนี้ จากการแบ่งสมองออกเป็นสองด้าน คือ สมองซีกซ้ายสั่งการเกี่ยวกับ ตรรกะ ตัวเลข การวิเคราะห์ และสมองซีกขวาซึ่งสั่งการเกี่ยวกับศิลปะ ดนตรี จินตนาการ การสังเคราะห์ทำให้เราเข้าใจถึงความสามารถที่แตกต่างกันของการทำงานของสมองทั้งสองซีกของผู้เรียน ซึ่งส่งผลถึงการมีสติปัญญา วิธีการ และประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการที่ผู้สอนควรมีการจัดหากิจกรรมที่บูรณาการระหว่างกิจกรรมหลายๆ รูปแบบเข้าด้วยกันและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้เลือกที่จะทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจ เช่น การให้เลือกที่จำนำเสนอผลงานในรูปแบบที่ผู้เรียนมีความถนัด เช่นแต่งเรื่อง แต่งเพลง เล่นดนตรี ผลิตสื่อนำเสนอ ทำรายงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ครูผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ตามอัตราความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของผู้เรียน
1.3ทฤษฎีคอนสตัคติวิสต์ (Constructivism)
ทฤษฎีการเรียนรู้คอนสตัคติวิสต์ เกิดจากแนวคิดที่ว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือ
กระทำ และสร้างสรรค์ผลงานมากกว่า การเรียนเชิงรับของผู้เรียนจากการถ่ายทอดของครูผู้สอน การลงมือกระทำและสร้างสรรค์ผลงานนั้นเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ อย่างกระตือรือร้นจนกระทั้งผู้เรียนเกิดการสร้างความหมาย ความเข้าใจและในที่สุดสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจึงเป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่ผู้เรียนสามารถสร้างให้เกิดขึ้นเองและเป็นสิ่งเฉพาะตัว ดังนั้นการเรียนตามแนวคอมสตัคติวิสต์จึงถือเป็นการเรียนรู้ในลักษณะผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่ครูผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ทฤษฎีคอนสตัคติวิสต์จะมุ่งเน้นการสำรวจ การแสวงหาความรู้ การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านทางกิจกรรมที่ใกล้เคียง หรือเชื่อมโยงกับประสบการณ์จริงๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้จากชั้นเรียนไปสู่สถานการณ์จริงได้ นอกจากนี้ คอนสตัคติวิสต์จะเน้นการเรียนในลักษณะร่วมมือ กล่าวคือ ผู้เรียนจะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับผู้เรียนอื่นๆ ในการสร้างงานต่างๆร่วมกัน สำหรับการประเมินผลตามแนวคอนสตัคติวิสต์นี้ จะเน้นการให้ผู้เรียนรู้จักการประเมินผลความก้าวหน้าการเรียนรู้ด้วยตนเอง ร่วมไปกับการที่ผู้สอนจะต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในขณะทำกิจกรรม รวมทั้งประเมินจากพอร์ทโฟลิโอซึ่งได้แก่ ชิ้นงานต่างๆ ที่ผู้เรียนได้มีการรวบรวมไว้ ซึ่งชิ้นงานดังกล่าวจะต้องสะท้อนความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน อันที่จริง คอนสตัคติวิสต์ ไม่ใช่แนวคิดใหม่แต่อย่างใด เพราะเกิดขึ้นมากกว่า 10 ปีแล้ว แต่ผลของการนำไปใช้ในสถาบันการศึกษาในบ้านเรานั้น ยังค่อนข้างจำกัด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะข้อจำกัดในด้านต่างๆ เช่น ขนาดของชั้นเรียน ภาระงานของครูผู้สอน ตัวอย่างการปฏิบัติที่ดี เป็นต้น
          จากการที่ได้กล่าวมานั้น จะเห็นได้ชัดว่า ทฤษฎี/รูปแบบการเรียนรู้ทั้งหมด ที่ได้กล่าวถึงนั้นมีความคาบเกี่ยวกันอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎี/รูปแบบการเรียนรู้ในอนาคตเกือบทั้งหมดจะมุ่งเน้น ในด้านการเรียนรู้ในลักษณะร่วมมือและผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งการใช้สื่อที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สื่อไอซีที อย่างไรก็ตาม แต่ละรูปแบบ/ทฤษฎีนั้น ก็จะมีข้อแตกต่างในรายละเอียดบางประการ ตัวอย่างเช่น การมุ่งเน้นในเรื่องการสร้างทำ สร้างองค์ความรู้/ชิ้นงานของทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ หรือการมุ่งเน้นในเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายสำหรับผู้เรียน อันเนื่องมาจากความแตกต่างในด้านของสติปัญญา วิธีการและประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งเป็นผลจากการทำงานของสมอง เป็นต้น

          สรุป จากที่กล่าวมาได้นำเสนอรูปแบบและทฤษฎีการเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า ซึ่งมุ่งเน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือกันของผู้เรียน ภายใต้การที่ผู้สอนวางฐานความรู้ (Knowledge scaffolding) ให้กับผู้เรียนอย่างเหมาะสม ผ่านการใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ รวมทั้ง มุ่งเน้น การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สอน ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสบการณ์ของผู้เรียนที่เป็นรูปธรรมและสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้จากชั้นเรียนไปสู่สถานการณ์จริงได้


เอกสารอ้างอิง
จำเริญ   จิตรหลัง. (2549). ปัจจัยการจัดการความรู้กับองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 2(ก.ค.- ธ.ค.): 200 – 219.
ประเวศน์   มหารัตน์สกุล. (2548). การพัฒนาองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร:
วิทยไพบูลย์ พริ้นท์ติ้ง.
วรภัทร์   ภู่เจริญ. (2547). องค์กรแห่งการเรียนรู้และการบริหารความรู้. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.
วิจารณ์  พานิช และประพนธ์  ผาสุขยืด. (2550). การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาองค์กรอัจฉริยะ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.       
วิโรจน์   สารรัตนะ. (2544). โรงเรียน : องค์การแห่งการเรียนรู้ กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.
วิโรจน์   สารรัตนะและอัญชลี   สารรัตนะ. (2545). ปัจจัยทางการบริหารกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.
วีรวุธ   มาฆะศิรานนท์. (2542). องค์กรเรียนรู้สู่องค์กรอัจฉริยะ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สมชาย   เทพแสง. (2547). “โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (Learning School) กุญแจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน.” วารสารวิชาการ 2(เมษายน มิถุนายน): 10 – 16.
วิโรจน์   สารรัตนะ.(2556).กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 2.     กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)

วิชัย ตันศิริ. (2549).อุดมการณ์ทางการศึกษา ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้